Line ID

Add Friend

Facebook

Senate Engineering

Phone Number

06-1120-9242

อุปกรณ์ ป้องกันตัวส่วนบุคคล

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ( Personal Protective Equipment , PPE )

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หมายถึงอะไร

 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment) หรือเรียกสั้นๆว่า พี พี อี (PPE) หมายถึง อุปกรณ์ที่สวมใส่ปกคลุมส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพและสิ่งแวดล้อมในขณะปฎิบัติงานโดยทั่วไปในการทำงานจะมีการป้องกันและควบคุมสภาพแวดล้อมของการทำงานก่อนโดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรม เช่น การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนวิธีการทำงาน เป็นต้น แต่ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้จะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมาใช้เพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายไม่ให้เกิดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณปฎิบัติงาน

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง ??

หมวกนิรภัย

ใช้สำหรับป้องกันศีรษะ จากการกระแทก การเจาะทะลุจากของแข็ง ซึ่งส่วนมากหมวกนิรภัยเหล่านี้ทำมากจาก พลาสติกขนาดแข็ง หรือไฟเบอร์กลาส์(ใยแก้ว) ที่สามารถป้องกันกระแสไฟฟ้าได้ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ในส่วนงานบนที่สูง งานดับเพลิง เป็นต้น

แว่นตานิรภัย

ใช้สำหรับ ป้องกันดวงตาและใบหน้า ซึ่งมีหลายแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของงาน แว่นตานิรภัยส่วนใหญ่จะเป็นแว่นลักษณะใส่ครอบตา มีทั้งแบบทำจากพลาสติก สำหรับป้องกันการกระแทกหรือเศษวัสดุ เหมาะกับงานเจียระไน งานไม้ งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ฯลฯ แต่หากเป็นโรงงานที่ตัดหรือเชื่อมโลหะ ควรใช้เป็นหน้ากากเชื่อม (Welding Helmets) โดยเฉพาะ จะสามารถป้องกัน แสง รังสี และความร้อนได้ดีกว่า

หน้ากากกรองอากาศ

ใช้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองในพื้นที่การทำงานที่มีฝุ่นละอองมากกว่าปกติ หน้ากากใช้สำหรับป้องกัน ไม่ให้สารอันตรายหรือ สารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ เช่น งานตัดเย็บเสื้อผ้า งานก่อสร้าง เป็นต้น

ถุงมือนิรภัย

ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับมือ จากสารเคมี วัตถุมีคม ไฟฟ้าสถิต สิ่งสกปรกต่างๆ ซึ่งโดยส่วนมากวัสดุที่นำมาผลิต จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ชนิดของงาน และแบ่งไปได้แต่ละประเภทของงาน.

รองเท้านิรภัย

อุปกรณ์เซฟตี้ที่ออกแบบมาเพื่อลดแรงกระแทก ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับนิ้วเท้า เท้า และข้อเท้า มีหลายชนิด เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงาน ใช้สำหรับป้องกัน อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการกระแทก ทับ หรือหนีบโดยวัตถุแข็ง การหกใสของสารเคมี การสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า เช่น รองเท้าบู๊ทนิรภัยหัวเหล็ก รองเท้ายาง รองเท้าพลาสติก เป็นต้น

จุกอุดหูลดเสียง,ที่ครอบหูลดเสียง

ใช้สำหรับลดระดับเสียง ดังจากสภาพแวดล้อมการทำ งานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ก่อนเข้าสู่ระบบการได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน

สายรัดตัวนิรภัย

ใช้สำหรับป้องกัน ไม่ให้คนทำ งานในที่สูงตกลงสู่เบื้องล่าง เข็มขัดนิรภัยที่ได้มาตรฐาน ควรเป็นลักษณะของสายรัดลำตัว คาดยาวตั้งแต่หัวไหล่ หน้าอก เอว และช่วงขา เพื่อเอาไว้ช่วยพยุงตัว หากต้องทำงานบนที่สูงและโล่ง ไม่มีจุดให้ยึดเกาะ

เสื้อสะท้อนแสง

 เป็นชุดอุปกรณ์นิรภัยเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้สวมใส่ในขณะปฏิบัติงานตามอาคารและสถานที่ต่างๆ เช่น งานจราจร หน่วยงานรักษาความปลอดภัยทั่วไป งานก่อสร้าง งานเหมือง งานภาคสนามบิน เจ้าหน้าที่ในโรงงานอุตสาหกรรม พนักงานซ่อมบำรุง พนักงานดับเพลิง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นต้น

Facebook
Twitter
LinkedIn